คำอธิบาย ของ จันทรุปราคา เมษายน พ.ศ. 2557

ดาวอังคาร ที่อยู่ในช่วงกำลังเข้าใกล้โลกที่สุด, ดังแสดงในภาพการเคลื่อนไหวทางภูมิศาสตร์จากศูนย์กลางดาวอังคาร ช่วง พ.ศ. 2546 - 2561

เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2558 ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านทางตอนใต้ของเงามืดของโลก[3] ซึ่งส่วนใหญ่จะสังเกตได้จากซีกโลกตะวันตก รวมถึงทางทิศตะวันออกของออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, มหาสมุทรแปซิฟิก และอเมริกา[4] ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านเข้าไปในเงาคราสก่อนที่ดวงจันทร์จะขึ้นจากท้องฟ้า ส่วนในยุโรปและแอฟริกา ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงาคราสก่อนจะตกลับขอบฟ้าไป[3] ส่วนดาวอังคารที่อยู่ในช่วงใกล้โลกมากที่สุด (opposition) มีโชติมาตร (magnitude) อยู่ที่ -1.5 ใกล้กับดวงจันทร์ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือที่ระยะ 9.5°[4][3][5][6] ดาวรวงข้าวอยู่ทางตะวันตกของดวงจันทร์ที่ระยะ 2° ส่วนดาวอาร์คตุรุสอยู่ทางเหนือของดวงจันทร์ที่ระยะ 32°, ดาวเสาร์อยู่ทางตะวันออกของดวงจันทร์ที่ระยะ 26°, และดาวแอนทาเรสอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของดวงจันทร์ที่ระยะ 44°[3]

ดวงจันทร์เคลื่อนตัวเข้าสู่เงามัวของโลกในเวลา 4:54 น. (UTC) และเข้าสู่เงามืดในเวลา 5:58 น. (UTC) คราสเต็มดวงกินเวลาทั้งสิ้น 1 ชั่วโมง 18 นาที จาก 7:07 น. ถึง 8:25 น. (UTC) ช่วงเวลาที่คราสกินลึกที่สุดเกิดขึ้นในเวลา 7:47 น. (UTC) ณ เวลานั้น ดวงจันทร์อยู่บนจุดจอมฟ้า ใกล้กับหมู่เกาะกาลาปาโกสไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ที่ระยะ 3,000 กิโลเมตร ต่อมาดวงจันทร์ออกจากเงามืดของโลกในเวลา 9:33 น. (UTC) และออกจากเงามัวในเวลา 10:38 น. (UTC)[3]

แมกนิจูดของเงามืดที่สูงที่สุดคือ 1.2907 ขณะที่ทางตอนเหนือของดวงจันทร์เป็น 1.7 อาร์คนาที ทางใต้ของใจกลางเงามืดของโลก ในขณะที่ทางตอนใต้ของดวงจันทร์เป็น 40.0 อาร์คนาที จากศูนย์กลาง ส่วนแกมม่าของอุปราคานี้คือ -0.3017[3]

จันทรุปราคาครั้งนี้เป็นสมาชิกของชุดซารอสดวงจันทร์ที่ 122 เป็นครั้งที่ 56 ในชุดอุปราคาทั้งหมด[3]

การสังเกตภาคพื้นดิน

ใกล้เคียง

จันทรุปราคา จันทรุปราคา มกราคม พ.ศ. 2561 จันทรุปราคา กันยายน พ.ศ. 2558 จันทรุปราคา เมษายน พ.ศ. 2557 จันทรุปราคา กรกฎาคม พ.ศ. 2561 จันทรุปราคา เมษายน พ.ศ. 2558 จันทรุปราคา มีนาคม พ.ศ. 2549 จันทรุปราคาเต็มดวง ธันวาคม พ.ศ. 2553 จันทรุปราคา กรกฎาคม พ.ศ. 2563 จันทรุปราคา ตุลาคม พ.ศ. 2556

แหล่งที่มา

WikiPedia: จันทรุปราคา เมษายน พ.ศ. 2557 http://astrobob.areavoices.com/2014/02/03/sneak-pe... http://www.mreclipse.com/Special/LEprimer.html http://www.usatoday.com/story/tech/2014/04/03/luna... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/LEcat5/appearance.htm... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/OH/OH2014.html#LE2014... http://www.alpo-astronomy.org/jbeish/2014_MARS.htm http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/eclipses/201... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Lunar_...